Monday, 27 April 2015

เห็นกล้องฟิล์ม อาหลอง แล้วของขึ้น #SkyExits

เห็นกล้องฟิล์ม อาหลอง แล้วของขึ้น

มาอาหลอง มาวัดกัน หมัดต่อหมัด ออนด์ต่อออนด์

ห่าง ‪#‎AumSkyExits‬ หลายชั้นนะ อา 555555+ ‪#‎นี่แค่เศษๆกล้องนะ‬ 55555+

คุยรวยสิ้นปี ไม่ว่ากันนะ 55555+ อาหลอง 83 ยังสู้ไม่ถอย

Suvinit Aum Pornnavalai Aum Sky Exits Aum Sky Exits อ่ำ ผู้กำกับคนซื่อ

Monday, 20 April 2015

"ลิ้มรสความผิดพลาดดูบ้าง อาจเป็นการปูพื้นฐาน ไปสู่ความสำเร็จ" ... ชีวิตของ " อาร์ตไดเร็คเตอร์ " มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย ที่จะประสบความสำเร็จ มันเป็นอาชีพที่ท้าทายมากๆ

อาร์ตไดเรกเตอร์ (art director)

เป็นอาชีพที่จัดว่า เก๋ไก๋สไลด์เดอร์มากๆ มีคนอยากเป็นมาก แต่ตำแหน่งน้อยนิดไม่ค่อยจะรับใครใหม่ๆเท่าไหร่ เพราะเงินเดือนดี แต่ทำงานหนักเป็นวัวเป็นควายบางทีก็กลับบ้านตีสองตีสาม หรือข้ามคืนก็เคยมี การเตรียมตัวเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์ ก็ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบติดตามข่าวสารวงการออกแบบและโฆษณา ชอบดูโฆษณา


ผู้กำกับภาพยนตร์ คือผู้ที่มีหน้าที่กำกับในขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์

โดยผู้กำกับภาพยนตร์มีหน้าที่สร้างจินตนาการจากบทหนัง แล้วถ่ายทอดความคิดทางด้านศิลปะออกมาตามแบบที่ตนเองต้องการ และเป็นคนสั่งฝ่ายอื่น ๆ ในกองถ่าย อย่างเช่น ฝ่ายผู้กำกับภาพ ผู้กำกับการแสดง ฝ่ายเทคนิค นักแสดง ออกมาอยู่ในองค์ประกอบทางศิลป์ที่ตนเองต้องการบนแผ่นฟิล์มหรือในระบบดิจิตอล 

อย่างไรก็ดี ผู้กำกับภาพยนตร์อาจจะควบคุมทุกอย่างตามที่ตนคิดไว้ไม่ได้เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ฉายในโรง เพราะผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ จะเป็นคนกำหนดงบประมาณที่จะให้ผู้กำกับใช้จ่ายได้ หรือสั่งตัดต่อหนังในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเข้าโรงฉายหากหนังมีความยาวเกินไป หรือเพื่อดึงการจัดเรตหนังให้ต่ำลงมา หรือบางฉากอาจจะมีการเพิ่มโฆษณาเข้าไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แปลกหากผู้กำกับจะมีปัญหาให้คุยกับผู้อำนวยการสร้างเสมอ ๆ


ความรับผิดชอบ ผู้กำกับภาพยนตร์

มีหน้าที่ควบคุมงานเกือบทุกอย่างในกองถ่าย ที่เกี่ยวข้องกับภาพและเสียง การดำเนินเรื่อง มุมกล้อง บทสนทนา สเปเชียลเอฟเฟกต์ ที่จะสื่อให้ผู้ชมได้รับรู้ในทุกๆแง่มุมที่เขาต้องการจะเผยแพร่ออกมา ผู้กำกับบางคนมีอำนาจในการจ้างคนที่จะต้องร่วมงานด้วยบ่อย ๆ อย่างเช่น ฝ่ายกำกับภาพ ซาวเอ็นจิเนียร์ ฝ่ายจัดแสง ฝ่ายจัดหาโลเคชั่น ฝ่ายคอสตูม ฝ่ายสเปเชียลเอฟเฟกต์

โดยผู้อำนวยการสร้างจะไม่ลงมายุ่งในเรื่องพวกนี้ด้วยมากนัก หากผู้กำกับภาพยนตร์ยังใช้ทุนสร้างอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ วิธีการกำกับ[แก้] วิธีการกำกับของผู้กำกับแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกันเลย ซึ่งตรงจุดนี้เป็นเสน่ห์ของภาพยนตร์ เพราะผลงานที่ได้จะมีความหลากหลาย

เนื่องจากศิลปะการกำกับหนังไม่มีทฤษฏีที่ตายตัว แบ่งประเภทออกได้คร่าวๆดังนี้ ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง โดยงานในกองถ่ายจะต้องเป็นไปตามที่ผู้กำกับสั่งทุกระเบียดนิ้ว หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า auteurs พูดให้แนวทางคร่าวๆกับนักแสดงว่าฉากนี้ต้องการจะออกมาให้อยู่ในอารมณ์แบบไหน และให้นักแสดงไปฝึกซ้อมบทพูดกันเอาเอง

หนังบางเรื่องของ โรเบิร์ต อัลแมน กำกับโดยแนวนี้ แทบไม่สั่งอะไรกับนักแสดงเลย อาจจะบอกเพียงแค่ว่า ให้เดินออกมาจากบ้าน แต่ไม่ยอมบอกว่า ให้เดินออกมาจากบ้านทำไม ผู้กำกับในแนวนี้ อย่างเช่น หลุยส์ บุนเนล มีพลอตหนังคร่าวๆ และชอบด้นบทสนทนาของตัวละครในกองถ่ายสดๆ เช่น หว่อง คาไว ชอบเขียนบทเองและกำกับเอง โดยอาจจะนำนวนิยายมาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ หรือเขียนบทจากจินตนาการของตนเอง เช่น วูดดี อัลเลน, สแตนลีย์ คูบริก, บิลลี ไวลด์เดอร์,เควนติน แทแรนติโน,ริชาร์ด ลิงเลเตอร์ ร่วมงานกับนักเขียนบทคนใดคนหนึ่งตลอด

โดยจะเปลี่ยนนักเขียนบทน้อยมาก อย่างเช่น ยาสุจิโร โอสุ/โคโกะ โนดะ ชอบทั้งกำกับเองและแสดงเป็นตัวละครเอกเองด้วย อย่างเช่น เฉินหลง, วูดดี อัลเลน, หม่ำ จ๊กมก, ชาร์ลี แชปลิน, เอ็ด วูด กำกับแต่ภาพยนตร์แนวที่ตัวเองถนัดเท่านั้น เช่น จอร์จ ลูคัส, โรเบิร์ต โรดริเกวซ, เดวิด โครเนนเบิร์ก, สองพี่น้องวาโชว์สกี้, เซอร์จิโอ ลีโอเน, อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก, เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน

 รายนามผู้กำกับภาพยนตร์ไทย
แหล่งข้อมูลอื่น

Filmmakers - Free Filmmakers Forum Smooth Negotiating: Making the Director Deal Directors Guild of America Directors Guild of Canada A comprehensive collection of interviews with a century's worth of European film directors Films101 The best directors picked by critics and filmmakers